20 มกราคม 2568, 21:00 น.
20 January 2025, 21:00 hrs.

คุณภาพอากาศ

Air Quality

ประชาชนทุกคน :
- งดกิจกรรมกลางแจ้ง
- หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
- หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
Everyone :
- Should avoid outdoor activities.
- Use personal protective equipment such as PM2.5 protective masks every time you go out.
- If you have any health symptoms, you should consult your doctor.
- People with congenital disease should be in a safe area from air pollution. Have the necessary medicines and equipment ready and strictly follow the doctor's advice.
ความเข้มข้นของสารมลพิษในบรรยากาศรายชั่วโมง
(Hourly Air Pollutant Concentration)

PM2.5
90 µg/m3

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
Particulate Matters
with diameter
≤ 2.5 micrometers

PM10
132 µg/m3

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน
Particulate Matters
with diameter
≤ 10 micrometers

O3
15.3 ppb

ก๊าซโอโซน
Ozone

CO
0.5 ppm

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
Carbon monoxide

NO2
34.8 ppb

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์
Nitrogen dioxide

SO2
1.3 ppb

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
Sulphur dioxide
สภาพอากาศรายชั่วโมง
(Hourly Weather Conditions)

 23.5 °C

อุณหภูมิอากาศ
Air Temperature

 64 %

ความชื้นสัมพัทธ์
Relative Humidity

 0 m/s

ความเร็วลม
Wind Speed

 293 °

ทิศทางลม
Wind Direction

 0 mm

ปริมาณฝน
Rainfall

 755 W/m2

รังสีอาทิตย์
Solar Radiation

 ดัชนีคุณภาพอากาศ

Air Quality Index (AQI)
20 มกราคม 2568, 21:00 น.
20 January 2025, 21:00 hrs.
AQI

(PM2.5)

217

(24-hr average)

PM 2.5

106 µg/m3

(24-hr average)

PM 10

147 µg/m3

(24-hr average)

O 3

44.2 ppb

(8-hr average)

CO

0.2 ppm

(8-hr average)

NO 2

34.9 ppb

(1-hr average)

SO 2

1.3 ppb

(1-hr average)

ดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน (Daily AQI)
และสารมลพิษทางอากาศที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Thailand Air Quality Index)

 ฝุ่นละอองในบรรยากาศ

Ambient Particulate Matters
ความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 และ 10 ไมครอน
(Concentration of PM2.5 and PM10)

 คำถามที่พบบ่อย

Frequently Asked Questions (FAQs)
  • ส่วนแรกของเว็บไซต์
  • ประกอบด้วย
    • ชื่อของเว็บไซต์
    • ตราสัญลักษณ์ของ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์
    • รายการ (Menu) สำหรับเลือกเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์โดยตรง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ได้แก่ ดัชนีคุณภาพอากาศ, ฝุ่นละอองในบรรยากาศ, ประกาศ, คำถามที่พบบ่อย, คุณภาพอากาศ ม.มหิดล พื้นที่บางกอกน้อย, และคุณภาพอากาศ ม.มหิดล พื้นที่พญาไท
  • ส่วนแสดงคุณภาพอากาศรายชั่วโมง
  • ประกอบด้วย
    • วันที่และเวลาในการรายงานคุณภาพอากาศ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • ระดับคุณภาพอากาศ ซึ่งมี 5 ระดับ คือ ดีมาก, ดี, ปานกลาง, เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตามเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ทั้งนี้ คุณภาพอากาศจะอยู่ในระดับใด ขึ้นกับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ในแต่ละชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • คำแนะนำในการปฏิบัติตนตามระดับคุณภาพอากาศ
    • ลักษณะทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ, ความชื้นสัมพัทธ์, ความเร็วลม, ทิศทางลม, ปริมาณฝน และรังสีอาทิตย์
  • ส่วนแสดงดัชนีคุณภาพอากาศ
  • ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ได้แก่ ดัชนีคุณภาพอากาศและความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศรายชั่วโมง และดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน

  • ดัชนีคุณภาพอากาศและความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศรายชั่วโมง
    • วันที่และเวลาในการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) รายชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด
    • ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
    • ค่าเฉลี่ยราย 8 ชั่วโมงของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซโอโซน (O3)
    • ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  • ทั้งนี้ สีของรูปก้อนเมฆ ซึ่งแสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศ และสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศ และความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่คำนวณได้

  • ดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน
    • ดัชนีคุณภาพอากาศที่เป็นตัวแทนของแต่ละวัน ย้อนหลัง 2 สัปดาห์ แสดงผลด้วยกราฟแท่ง ซึ่งจะมีสีเปลี่ยนแปลงไปตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ พร้อมกำกับด้วยชื่อสารมลพิษทางอากาศที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อดัชนีคุณภาพอากาศในวันนั้น ๆ
    • เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่ละระดับใช้สีเป็นสัญลักษณ์ เพื่อแสดงระดับสถานการณ์มลพิษทางอากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
  • ส่วนแสดงปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ
  • ประกอบด้วย
    • ความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงแบบต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการตรวจวัด แสดงผลด้วยกราฟเส้น (เส้นสีเขียว คือ PM2.5 ส่วนเส้นสีส้ม คือ PM10)
    • ค่ามาตรฐานความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย แสดงผลด้วยเส้นประ (เส้นประสีเขียว คือ PM2.5 ส่วนเส้นประสีส้ม คือ PM10)
    • ส่วนบนและส่วนล่างของกราฟ ใช้สำหรับเลือกช่วงเวลาในการแสดงผล เช่น รายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน, ทั้งหมด หรือกำหนดเองแบบจำเพาะเจาะจง
  • ส่วนแสดงประกาศที่เกี่ยวข้อง
  • ประกอบด้วย ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดและการรายงานคุณภาพอากาศ และการคาดหมายลักษณะอากาศ
  • ส่วนแสดงคำถามที่พบบ่อย
  • ประกอบด้วย คำถามต่าง ๆ ที่มักพบบ่อย หรือความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน พร้อมคำตอบหรือคำอธิบาย
  • ส่วนแสดงเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ และข้อมูลสำหรับการติดต่อ
  • ประกอบด้วย
    • ข้อความแสดงเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลต่าง ๆ จากเว็บไซต์
    • ข้อมูลสำหรับการติดต่อคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเว็บไซต์

บ่อยครั้งที่มีคำถามหรือข้อสังเกตว่า เหตุใดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของแต่ละพื้นที่จึงมีค่าไม่เท่ากัน หรือบางกรณีแม้เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ค่าที่ได้จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศกลับไม่เท่าหรือไม่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ที่สำคัญคือ

แหล่งกำเนิดมลพิษแตกต่างกัน พื้นที่ที่แตกต่างกันอาจมีประเภทและจำนวนของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวแตกต่างกัน ส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น พื้นที่เมืองชั้นในมักมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่นและติดขัดมากกว่าพื้นที่เมืองชั้นนอก ส่งผลให้พื้นที่เมืองชั้นในมีปริมาณสารมลพิษทางอากาศสูงกว่าพื้นที่เมืองชั้นนอก นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากและขาดระบบการบำบัดมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ หรือพื้นที่ที่มีการเผาในที่โล่ง จะมีปริมาณสารมลพิษทางอากาศสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีกิจกรรมดังกล่าว

ปัจจัยสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน พื้นที่ที่แตกต่างกันอาจมีปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิอากาศ ความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณฝน และความหนาแน่นของอาคารและต้นไม้ แตกต่างกัน ซึ่งล้วนส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น พื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูง จะมีการมุนเวียนของอากาศในแนวดิ่งไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หรือพื้นที่ที่มีลมพัดและมีสภาพเอื้อต่อการถ่ายเทและหมุนเวียนของอากาศ จะทำให้สารมลพิษทางอากาศกระจายตัวได้ดี ไม่สะสมอยู่ในพื้นที่

เครื่องวัดคุณภาพอากาศแตกต่างกัน เครื่องวัดคุณภาพอากาศต่างชนิดกัน จะมีเทคนิคการวัด รวมทั้งความละเอียดและความแม่นยำในการตรวจวัดแตกต่างกัน ส่งผลให้คุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้มีค่าแตกต่างกันได้บ้าง นอกจากนี้ การสอบเทียบ (Calibration) เครื่องมือ ยังมีผลอย่างมากต่อความถูกต้องและความแม่นยำของค่าที่ตรวจวัดได้ ดังนั้น เครื่องมือที่มีมาตรฐาน ให้ผลการตรวจวัดที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ จะต้องผ่านการสอบเทียบและปรับค่าจากโรงงานผลิตหรือจากหน่วยงานที่ให้การรับรองก่อนนำมาใช้งาน และเมื่อนำมาใช้งานแล้ว ควรต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือเป็นประจำ

จุดติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศแตกต่างกัน กรณีที่ใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเดียวกัน และติดตั้งอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงกัน แต่หากจุดที่ติดตั้งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ภายในอาคาร ใต้ชายคา ใต้ร่มเงาหรือทรงพุ่มของต้นไม้ หรือกลางแจ้ง ย่อมส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้เช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังกล่าวแล้วข้างต้น

วิธีการคำนวณและมาตรฐานคุณภาพอากาศที่ใช้เทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้แตกต่างกัน เครื่องวัดคุณภาพอากาศแต่ละชนิด และแต่ละรุ่น โดยเฉพาะประเภทเซ็นเซอร์ (Sensor) มีวิธีการคิดคำนวณปริมาณสารมลพิษทางอากาศแตกต่างกันขึ้นกับผู้ผลิตแต่ละราย จึงอาจทำให้ค่าที่ตรวจวัดได้มีความแตกต่างกันบ้าง หรือในกรณีการรายงานคุณภาพอากาศในเชิงพื้นที่ โดยนำค่าที่ได้จากการตรวจวัด ณ จุดต่าง ๆ มาประมาณค่าให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ หากจำนวนข้อมูลที่นำมาใช้ประมาณค่ามีน้อย หรือพื้นที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ค่าที่ประมาณได้อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ มาตรฐานคุณภาพอากาศหรือค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่นำมาใช้เปรียบเทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้อาจแตกต่างกัน โดยการตรวจวัดและการรายงานคุณภาพอากาศของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบค่าที่ตรวจวัดและคำนวณได้กับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ซึ่งมี 5 ระดับ ขณะที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากต่างประเทศ มักเปรียบเทียบค่าที่ตรวจวัดและคำนวณได้กับดัชนีคุณภาพอากาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 6 ระดับ จึงอาจส่งผลให้คุณภาพอากาศที่รายงานมีค่าแตกต่างกันได้เช่นกัน

ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศนี้ ได้จากการประมวลผลความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจวัดโดยรถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณประตู 3 ริมถนนพุทธมณฑลสาย 4 (พิกัดภูมิศาสตร์ 13.794606o N, 100.327256o E) ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รายงานใช้เป็นตัวแทนคุณภาพอากาศในรัศมีประมาณ 3 กิโลเมตร จากจุดตรวจวัด

ดังนั้น นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ในรัศมี 3 กิโลเมตร สามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศนี้ในการติดตามคุณภาพอากาศรายชั่วโมงและรายวันได้

อนึ่ง การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป เป็นการตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด แบบต่อเนื่อง ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากนั้น นำมาคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) นอกจากนี้ยังตรวจวัดลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาร่วมด้วย

ข้อมูลที่ได้จากรถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแสดงในเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ ได้จากเครื่องวัดที่มีมาตรฐาน และมีการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) เป็นประจำ จึงให้ผลการตรวจวัดที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ

ทั้งนี้ รถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ระบบเครื่องวัดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครื่องวัดทั้งหมดยังได้รับการยอมรับในระดับสากล และได้การรับรองจากองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency : US EPA) ว่าเป็นวิธีตรวจวัดมาตรฐาน Federal Reference Method (FRM) หรือ วิธีตรวจวัดอ้างอิง Federal Equivalent Method (FEM) ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำหนด

ใช้ประโยชน์ได้ โดยนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนประชาชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล พื้นที่บางกอกน้อย และพื้นที่พญาไท สามารถเลือกรายการ (Menu) ที่ส่วนแรกของเว็บไซต์ เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ และติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่บางกอกน้อย จากสถานีริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี ๕ เขตบางกอกน้อย (b85) และพื้นที่พญาไท จากสถานีริมถนนพญาไท เขตราชเทวี (b4) ได้โดยตรง

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากรายการคำถามที่พบบ่อย (FAQs) ซึ่งรวบรวมคำถาม ข้อสงสัย หรือความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน พร้อมแสดงคำตอบไว้

สำหรับประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร สามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศได้จากเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th หรือ Air4Thai Application และกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร https://bangkokairquality.com ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศได้จากเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th

  • สารมลพิษทางอากาศในบรรยากาศที่สำคัญ ได้แก่

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

    • เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร (ไมครอน)
    • เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในยานพาหนะ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) การเผาในที่โล่ง (เช่น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ) ไฟป่า และการเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม
    • สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่าง ๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพ หลอดลมอักเสบ และมีอาการหอบหืด

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)

    • เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมโครเมตร (ไมครอน)
    • เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในยานพาหนะ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) การเผาในที่โล่ง (เช่น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้างหรือการโม่หิน
    • เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

  • ก๊าซโอโซน (Ozone : O3)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย
    • ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจ และเยื่อบุต่าง ๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง

  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส
    • เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
    • สามารถสะสมในร่างกายได้ โดยรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า ทำให้การลำเลียงออกซิเจนสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide : NO2)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย
    • มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ อุตสาหกรรมบางชนิด
    • ส่งผลต่อระบบการมองเห็น และผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur Dioxide : SO2)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง
    • เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก หรือรวมตัวกับน้ำฝนเกิดเป็นฝนกรด
    • ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

  • ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.

มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย เป็นดังนี้


  • หมายเหตุ :
    • มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะสั้น (1, 8 และ 24 ชั่วโมง) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอย่างเฉียบพลัน (Acute Effect)
    • มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะยาว (1 เดือน และ 1 ปี) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาวหรือผลกระทบเรื้อรัง ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย (Chronic Effect)
    • ppb (part per billion) หรือ ส่วนในพันล้านส่วน
    • ppm (part per million) หรือ ส่วนในล้านส่วน
    • µg/m3 (microgram per cubic meter) หรือ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    • mg/m3 (milligram per cubic meter) หรือ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

  • ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airsnd01.html#s1.

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ประชาชนทำความเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ และควรปฏิบัติตนอย่างไร

ดัชนีคุณภาพอากาศใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ประกอบด้วย ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ดัชนีคุณภาพอากาศคำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ โดยมีระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่าง ๆ แสดงดังตาราง


การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศภายในช่วงระดับ เป็นสมการเส้นตรง ดังนี้


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่ละระดับใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 มีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่า ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐาน และคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.